ประตูสู่ภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก
ชุมพร คือประตูสู่ภาคใต้ และเป็นหัวเมืองหน้าด่านในครั้งอดีต อดีตเมือง 12 นักษัตรนี้อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีพร้อม
ทั้งป่าไม้ ทะเล อีกทั้งเป็นสะพานเชื่อมระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ซึ่งยากนักที่จะทุกอย่างพร้อมสรรพในจังหวัดเดียว ลองหยุดทำความรู้จักชุมพรสักนิด แล้วจะรู้ว่าที่นี่ไม่ธรรมดา
จังหวัดชุมพรมีเนื้อที่ประมาณ 6,010 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดชุมพร คือ ด้านทิศตะวันตกมีเทือกเขาตะนาวศรีและ
เทือกเขาภูเก็ตเป็นแนวกั้นเขตแดน ระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่า มีลักษณะเป็นพื้นที่สูงลาดเทจากทิศตะวันตกสู่พื้นที่ต่ำ ทางทิศ
ตะวันออกประกอบด้วยภูเขาและป่าไม้ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำลำธารที่สำคัญสายสั้น ๆ หลายสาย เช่น แม่น้ำท่าตะเภา แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำสวี เป็นต้นส่วนบริเวณตอนกลางของจังหวัด มีลักษณะเป็นที่ราบลูกคลื่นและที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีความอุดมสมบูรณ์สูง เหมาะแก่การ
เพาะปลูก มีเนื้อที่ดินประมาณ 1 ใน 4 ของพื้นที่จังหวัด และด้านทิศตะวันออกมีลักษณะเป็นที่ราบตามแนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ชายหาดค่อนข้างเรียบ มีความโค้งเว้าน้อย และสวยงามมาก จึงเป็นสถานที่พักผ่อนและสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดจังหวัดชุมพรมี ชื่อปรากฏมาตั้งแต่ปี พ.ศ.1098 โดยมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านของนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง เป็นเมืองในอาณาจักรฝ่ายใต้ของ
กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถ ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นมณฑลชุมพร ต่อมามีการยุบการ
ปกครองระบอบมณฑล ชุมพรจึงมีฐานะเป็นจังหวัดคำว่า “ชุมพร” สันนิษฐานว่ามีที่มาจากคำต่าง ๆ เช่น มาจากคำว่า “ชุมนุมพล” เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่าน การเดินทัพไม่ว่าจะมาจากฝ่ายเหนือหรือว่าฝ่ายใต้ ล้วนเข้ามาตั้งค่ายชุมนุมพลกันที่นี่ อีกความหมายหนึ่งอาจมา
จากคำว่า “ชุมนุมพร” เนื่องจากการเดินทางไปทำศึกสงครามของแม่ทัพนายกองตั้งแต่สมัยโบราณมา เมื่อจะเคลื่อนพลต้องทำพิธีส่งทัพโดย
การบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ได้รับชัยชนะในการสู้รบ เป็นการบำรุงขวัญทหาร ในสถานที่ชุมนุมเพื่อรับพรเช่นนี้ ตรงกับความหมายชุมนุมพร หรือประชุมพร แต่อีกทางหนึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะได้มาจากชื่อพันธุ์ไม้ธรรมชาติในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นมะเดื่อชุมพร เพราะที่ตั้งของเมืองชุมพร
นั้นอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าตะเภา มีต้นมะเดื่อชุมพรขึ้นมากมาย ต้นมะเดื่อชุมพรจึงเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของตราประจำจังหวัดชุมพรจังหวัดชุมพร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชุมพร อำเภอหลังสวน อำเภอสวี อำเภอท่าแซะ อำเภอปะทิว อำเภอละแม อำเภอพะโต๊ะ และอำเภอทุ่งตะโก |